เราก็มาถึงตอนสุดท้ายของซีรี่ส์ Heat Wave แล้วนะครับ ในตอนนี้ผมจะขอมาพูดเรื่องผลกระทบของคลื่นความร้อนที่มีต่อตัวคนและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการรับมือและป้องกันว่าควรจะต้องทำอะไร อย่างไรบ้าง
อย่างที่เราทราบว่าคลื่นความร้อนเป็นปรากฎการณ์อากาศร้อนมากกว่าที่เคย
(คิดเทียบที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด 30 ปี
ย้อนหลังอย่างที่ผมอธิบายแล้วในตอนที่ 1)
โดยผลกระทบของการเกิดคลื่นความร้อนสามารถแบ่งได้กว้างๆ คือต่อมนุษย์และต่อสิ่งแวดล้อม คือ
1) ผลกระทบต่อมนุษย์ เกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยทั้งความร้อนที่สูงกว่าปกติและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงทำให้เหงื่อไม่ระเหย
และพาความร้อนออกจากร่างกายได้ ทำให้รู้สึกร้อนอบอ้าว
ส่งผลให้ระบบเมตาบอลิซีมในร่างกายล้มเหลวถึงเสียชีวิตได้ (ที่มา: สำนักงานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค)
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การเกิดคลื่นความร้อนในยุโรป ปี 2546 ชาวฝรั่งเศสเสียชีวิตกว่า 14,800 ราย
มากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านตามลำพัง และระหว่างปี 2522-2546
มีผู้เสียชีวิตรวมจากคลื่นความร้อนในประเทศอเมริกากว่า 8,015
ราย ซึ่งมากกว่าผู้เสียชีวิตจากพายุเฮอริเคน ทอร์นาโด
น้ำท่วมและแผ่นดินไหวรวมกันเสียอีก
โรคลมแดดหรือฮีทสโตก ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่อาจเกิดได้เมื่อเกิดคลื่นความร้อนโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง
เช่น เด็กเล็ก ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้เป็นโรคอ้วน ผู้ดื่มสุรา
ซึ่งสาเหตุหลักๆ ในประเทศไทย
โรคดังกล่าวจะเกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป
จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงกว่า 40C และส่วนใหญ่มีความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น
มีอาการหงุดหงิดสับสน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะเดินเซ ความดันต่ำ อ่อนเพลีย คลื่นไส้
มีอาการชักเกร็ง หน้ามืด หมดสติ เป็นต้น ประกอบกับอาการจากการทำหน้าที่ปกติของหลายอวัยวะร่วมด้วย
ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เจ็บป่วยและเสียชีวิตได้ (ที่มา:
นพ.ณัฐพล เชิดหิรัญกร โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี)
การวัดคลื่นความร้อนที่ถูกต้องจะต้องใช้ดัชนีความร้อน (Heat Index) เป็นหลัก โดยหลักการก็คือ ดัชนีการวัดค่าความร้อนที่แท้จริงที่เรารู้สึกสืบเนื่องมาจากผลของความชื้นในสภาวะอุณหภูมิสูง
ร่างกายคนเราจะรู้สึกร้อนกว่าอุณหภูมิที่วัดได้จากเทอร์โมมิเตอร์ ยกตัวอย่างเช่น
ระดับอุณหภูมิในอากาศ 37C ค่าความชื้นสัมพัทธ์ 40% ในตารางดัชนีค่าความร้อน (ที่มา: Sunflower Cosmos) เท่ากับ
41C หรือค่า 41C เป็นระดับความรู้สึกจริงที่ร่างกายได้รับความร้อน
ในทางกลับกัน ให้ระดับอุณหภูมิในอากาศ 37C เท่าเดิม แต่มีค่าความชื้นสัมพัทธ์
70% ในตารางดัชนีค่าความร้อนสูงถึง 57C
จากค่าดัชนีความร้อนต่างๆ เราสามารถนำมาจัดลำดับความอันตราย
เปรียบเทียบกับค่าความร้อน และความเป็นไปได้ในการเกิดอาการได้ตามตารางข้างล่าง
ลำดับชั้น
|
ค่าความร้อน
(Heat Index)
|
ความเป็นไปได้ในการเกิดอาการขั้นสูง
เมื่อถูกผลกระทบจากความร้อน
|
อันตรายร้ายแรง
(Extreme Danger)
|
54C หรือมากกว่า
|
ลมแดด
|
อันตราย
(Danger)
|
41-54C
|
ลมแดด และ/หรือ
เพลียแดด/ ตะคริวแดด/ เหนื่อยล้า
|
แจ้งเตือนอันตราย
(Extreme Caution)
|
32-41C
|
ลมแดด และ/หรือ
เพลียแดด/ ตะคริวแดด/ เหนื่อยล้า
|
แจ้งเตือน
(Caution)
|
27-32C
|
เหนื่อยล้า
|
การป้องกันการเกิดโรคจากคลื่นความร้อนทำได้ไม่ยาก
เริ่มตั้งแต่การใส่ใจถึงสภาพแวดล้อมอุณหภูมิความชื้นรอบตัว
ไม่ออกกำลังกายหรือทำงานกลางแดดเป็นเวลานาน
ปรับสภาพร่างกายให้สามารถทำกิจกรรมในสภาพอากาศที่ร้อนได้อย่างเหมาะสม
ดูแลร่างกายไม่ให้ขาดน้ำโดยการดื่มน้ำให้เพียงพอต่อร่างกาย
สวมใส่เสื้อผ้าไม่คับจนเกินไป เหมาะสมกับสภาพอากาศและระบายเหงื่อได้ดี หากร้อนจัดแล้วเหงื่อไม่ออกให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อระบายและลดความร้อนจากร่างกาย
ส่วนเด็กและผู้สูงอายุควรมีการดูแลเป็นพิเศษ โดยจัดห้องให้มีอากาศถ่ายเทและระบายความร้อนได้ดี
และไม่ควรปล่อยให้อยู่ตามลำพัง
2.
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากคลื่นความร้อนเป็นการสะสมของความร้อนเป็นระยะเวลานาน
ในหลายๆ พื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ๆ อยู่ในเขตแห้งแล้ง หรือใกล้เส้นศูนย์สูตร
ก็จะมีโอกาสเกิดภัยธรรมชาติหลายอย่าง อาทิ ในปี 2546 ประเทศโปรตุเกส พื้นที่ป่าถูกไฟป่าเผาผลาญไปมากกว่า 3,010 ตร.กม. และพื้นที่ทำการเกษตรเสียหายมากถึง 440 ตร.กม.
ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นจำนวนเงินประมาณ 1 พันล้านยูโร
อีกเหตุการณ์หนึ่งก็คือไฟป่าในรัฐวิคตอเรียและทางตอนใต้ของออสเตรเลียในปี 2552 พบว่ามีไฟไหม้กว่าพันจุดเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง
นอกจากนี้ การที่คลื่นความร้อนสะสมมากๆ
ทำให้อัตราการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศและเครื่องใข้ไฟฟ้าอื่นมีปริมาณมากขึ้นและก่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้องในหลายๆ
ที่ เช่น ในปี 2549 ประเทศอเมริกาโดยเฉพาะในแคลิฟอร์เนีย
และลอส แองเจลิส บ้านเป็นพันๆ หลังคาเรือนต้องอยู่ในสภาพไม่มีไฟฟ้าใช้นานถึงห้าวัน
หรือในปี 2552 ที่ออสเตรเลีย
ประชาชนกว่าครึ่งล้านคนต้องอยู่ในสภาพปราศจากไฟฟ้าใช้เป็นเวลานาน
สุดท้ายนี้
เราจะเห็นได้ว่าคลื่นความร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราเลย
และมีโอกาสเกิดขึ้นได้เหมือนกันในอนาคต ถ้าปัจจัยทั้งอุณหภูมิและความชื้นสันพัทธ์มีค่าที่เกินกว่าค่าอุณหภูมิสูงสุดที่กำหนดไว้
ในประเทศไทย
เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อนของเราเป็นช่วงที่เราจะต้องระมัดระวังและจับตาเป็นพิเศษ
การดูแลเอาใจใส่ตัวเราเองและกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่เราจะต้องใส่ใจเป็นพิเศษในช่วงระยะเสี่ยง
จบสามตอนแล้วของซีรี่ย์นี้ หวังว่าเพื่อนๆ
คงได้รับความรู้และประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ
มีอะไรก็ทิ้งข้อเสนอแนะให้ผมได้นะครับ ยินดีน้อมรับเสมอ ^^
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น