วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

มารู้กจักกับ Heat Wave กันเถอะ.... ตอนที่ 2

สวัสดีครับ ^^

หลังจากเราทราบไปแล้วว่าคลื่นความร้อนคืออะไรในตอนที่แล้ว ในตอนนี้เราจะมาดูสาเหตุกันว่าเจ้าคลื่นความร้อนนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร อธิบายแบบง่ายๆ คลื่นความร้อนจริงๆ เกิดได้จากสองสาเหตุหลัก คือ แบบสะสมความร้อน และแบบพัดพาความร้อน

1)  แบบสะสมความร้อน เกิดในพื้นที่ที่สะสมความร้อนเป็นเวลานาน อากาศแห้ง ลมนิ่ง ทำให้ความร้อนจากแสงอาทิตย์ไม่เคลื่อนที่ เมื่ออุณหภูมิร้อนสะสมหลายวันจะเกิดคลื่นความร้อนมากขึ้น เช่น หากพื้นที่ไหนมีอุณหภูมิ 38-41C แล้วไม่มีลมพัดต่อเนื่อง 3-6 วัน ไอร้อนจะสะสมกลายเป็นคลื่นความร้อน โดยคลื่นความร้อนแบบนี้จะเกิดได้ในบริเวณที่อยู่ในเขตร้อน หรือเคลื่อนผ่านใกล้จุดที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลก และต้องห่างจากทะเล+มีพื้นที่กว้างพอสมควรด้วย  ประเทศที่มีโอกาสเกิดคลื่นความร้อนแบบสะสมความร้อน มีหลายแห่ง อาทิ  อินเดีย แอฟริกา ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ และ แคลิฟอร์เนีย (เส้นศูนย์สูตร)


2) แบบพัดพาความร้อน เกิดจากลมแรงหอบเอาความร้อนจากทะเลทรายหรือเส้นศูนย์สูตรใน ปริมาณมากๆ พัดขึ้นไปในเขตหนาว โดยทรงตัวอุณหภูมิไว้ค่อนข้างดี ทำให้บริเวณที่ถูกลมร้อน พัดผ่าน อุณหภูมิสูงขึ้นทันที และจะสูงอยู่อย่างนั้นจนกว่าลมร้อนจะพัดผ่านไป หรือ สลายตัวไป คลื่นความร้อนชนิดนี้สามารถเกิดได้หลายแห่ง เช่น ยุโรป แคนนาดาตอนใต้ แคลิฟอร์เนีย 


              ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยเรียกว่าแทบจะไม่มีโอกาสเกิดคลื่นความร้อนได้เลย เนื่องจากไม่ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่มีมวลอากาศร้อนจัด (อยู่ในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น) ประกอบกับไม่มีทะเลทราย นอกจากนี้ สภาพอากาศของไทยมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาทุก 7-10 วัน ทำให้เกิดฝนตก ช่วยลดอุณหภูมิไม่ให้ไต่ระดับสูงถึงขั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ อย่างไรก็ตามในปี 2553 ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น อันเนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญ่ ทำให้ในฤดูร้อนปีดังกล่าวประเทศไทยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 42-43 องศา และเกือบเสี่ยงต่อปรากฏการณ์คลื่นความร้อนเป็นอย่างมาก


           ในตอนหน้าผมจะมาพูดถึงคลื่นความร้อนว่ามีผลกระทบต่ออะไรบ้าง และเราจะมีวิธีรับมือกับ              ปรากฎการณ์นี้อย่างไร ^^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น